ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แขวงทรายกองดินใต้
ข้อมูล
กศน.แขวงทรายกองดินใต้
กศน.แขวงทรายกองดินใต้ สังกัด
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตคลองสามวา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
กศน.แขวงทรายกองดินใต้ จัดตั้งตามประกาศ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดตั้ง กศน.ตำบล/กศน.แขวง ประกาศ
ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2552 คณะรัฐมนตรี
ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาใน ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561)
ซึ่งมีวิสัยทัศน์ คือ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
โดยให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเท่าเทียมกับการศึกษาในระบบ
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
พร้อมทั้งปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต
เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
กศน.แขวงทรายกองดินใต้
จัดตั้งขึ้นจากการทำ MOU
และหนังสือประกาศศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเขตคลองสามวา เรื่อง
จัดตั้งที่ทำการ กศน.แขวงทรายกองดินใต้ ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2552
โดยความอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ที่ทำการชุมชนฮิดายาตุ้ลอิสลามิยะห์
จากคุณสถิตย์ มีสัณฐาน ประธานชุมชน
และคณะกรรมการชุมชน ในขณะนั้น และได้ดำเนินการทำพิธีเปิด
กศน.แขวงทรายกองดินใต้ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 โดยมี สส.สมัย เจริญช่าง ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด
ผอ.กศน.เขตคลองสามวาและบุคลากร กศน.เขตคลองสามวา ชุมชนในแขวงทรายกองดินใต้ทั้ง 15
ชุมชน และแขกผู้มีเกียรติร่วมงานมากมาย ภายในงานมีการทำบุญและพิธีทางศาสนาอิสลาม
โดยท่านอีหม่ามมูฮำหมัด หมัดเซ็น การแสดงของเยาวชนในชุมชน
และนิทรรศการส่งเสริมอาชีพมากมาย
สถานที่ตั้ง
กศน.แขวงทรายกองดินใต้
101 ที่ทำการชุมชนฮิดายาตุ้ลอิสลามิยะห์ ซอยประชาร่วมใจ 7 ถนนประชาร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา
กรุงเทพมหานคร
กศน.แขวงทรายกองดินใต้ ประกอบด้วยศูนย์การเรียนชุมชน 2
ศูนย์การเรียนชุมชน
1.
ศูนย์การเรียนทรายกองดินใต้ ที่อยู่ 101 ซอยประชาร่วมใจ
7 ถนนประชาร่วมใจ
แขวงทรายกองดินใต้
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
2.
ศูนย์การเรียนทรายกองดินใต้ 2 ที่อยู่ 1220
ถนนวัดสุขใจ แขวงทรายกองดินใต้
เขตคลองสามวา
กรุงเทพมหานคร
ประวัติความเป็นมาชุมชนฮิดายาตุ้ลอิสลามิยะห์
เดิมที่ดินแห่งนี้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร และต่อมาได้มีผู้บริจาคให้กับมัสยิด หรืออีกหนึ่งว่า วาก๊าฟ
จำนวนเนื้อที่บริเวณชุมชนมีเนื้อที่ประมาณ
24.3 ไร่ และต่อมาประมาณปี 2528 ท่านอิหม่าม ฮัจยีมูฮำหมัด หมัดเซ็น
และคณะกรรมการมัสยิดเห็นสมควรจัดที่ดินดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย ล๊อค ๆ ละ 40 ตารางวา จำนวน 150 ล๊อค โดยเสียค่าจองครั้งแรก ล๊อคละ
3,500 บาท เสียค่าเช่า ตารางวาละ 1 บาท ต่อเดือน
ใช้รถไถหน้าดินทำเป็นถนนทางเดิน
และผู้ที่เข้าอยุ่ในชุมชนแห่งนี้
คนแรก คือ
1. นายรอเซ็ด ยูฮันเงาะ
2. นายมูฮำหมัด สุกุมา
3. นายประหยัด โต๊ะแอใบเซ็น
โดยไม่มีไฟฟ้า ใช้ตะเกียง
และใช้น้ำ ในลำรางทรายกองดิน
ประมาณปี
2534 ได้ไฟฟ้า และน้ำบาดาล
และถนนลูกรังก็ตามมา ต่อมา คุณสุวิทย์
วิวัฒน์สภาปัตย์
จดทะเบียนจัดตั้งชุมชน เมื่อวันที่
14 ธันวาคม พ.ศ. 2538
โดยขึ้นกับสำนักงานเขตมีนบุรี
และความเจริญต่าง ๆ ก็เริ่มตามมา
จนประมาณ ปี 2540
ได้มีเขตใหม่
และได้แยกให้ชุมชนมัสยิดฮีดายาตุ้ลอิสลามียะห์ (แสนแสบ) แห่งนี้
ขึ้นกับสำนักงานเขตคลองสามวา
และได้พัฒนาความเจริญเรื่อยมา
จากถนนลูกรัง เป็นถนนลาดยางมะตอย ไฟฟ้าแสงสว่าง
หอกระจายข่าว
โครงการป้องกันอัคคีภัย กิจกรรมรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
และชุมชนของเราอยู่ใกล้มัสยิด ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของพวกเราทุกคน และมีโรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ สายสามัญ
ตั้งแต่ชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งแต่จัดตั้งชุมชนเรามีประธานชุมชน แล้ว 5 ท่าน
ดังนี้
1. นายสุวิทย์ วิวัฒน์สถาปัตย์ ( พ.ศ. 2538 -
พ.ศ. 2543 )
2. นายมารุต วิวัฒน์สถาปัตย์ ( พ.ศ. 2543 -
พ.ศ. 2545 )
3. นายเดชา วิเชียรกร ( พ.ศ. 2545 - พ.ศ.
2546 )
4. นายธนากร
อาดำ ( พ.ศ.
2546 -
พ.ศ. 2550 )
5. นายสถิต มีสันฐาน ( พ.ศ.2550 -
ปัจจุบัน )
ผู้ให้ข้อมูลประวัติชุมชน
นายรอเซ็ด
ยูฮันเงาะ
ปรัชญาศูนย์การเรียนชุมชนฮิดายาตุ้ลอิสลามิยะห์
เน้นชุมชนเป็นฐาน ประสานความร่วมมือ ยึดถือความพอเพียง
ร้อยเรียงแหล่งเรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต
วิสัยทัศน์
กศน.แขวงทรายกองดินใต้ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พัฒนาทักษะอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้มีคุณภาพ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อยู่บนพื้นฐานการมีคุณธรรม
ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษาสมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาพัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิตและสังคมและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายชุมชน
3. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชนส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายชุมชน
3. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชนส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.มัสยิดฮีดาย่าตุ้ลอิสลามียะห์
ตั้งอยู่ที่ ม.10 แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
ประวัติโดยย่อ
มัสยิดฮีดาย่าตุลอิสลามียะห์ ชาวบ้านมักเรียกว่าสุเหร่าแสนแสบ และไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแต่พอจะอนุมานจากหลักฐานของทางราชการ เช่นโฉนดที่ดินเดิมของมัสยิด และของสัปปุรุษรอบมัสยิด ซึ่งออกเมื่อปี ร.ศ. 125 ตรงกับปี พ.ศ. 2450 ซึ่งระบุชื่อมุสลิมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แสดงว่ามีมุสลิมมาตั้งรกรากครอบครองที่ดินบริเวณนี้ ตั้งแต่ก่อนโฉนด สำหรับอาคารมัสยิดตามหลักฐานราชการน่าจะสร้างก่อนปี พ.ศ. 2476 เพราะจดหมายเหตุของโรงเรียนสุเหร่าแสนแสบบันทึกว่าโรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ครั้งแรกอาศัยสุเหร่าแสนแสบเป็นสถานที่ทำการสอนชั่วคราว จากการสอบถามคนเก่าแก่พอจะทราบว่า เดิมมัสยิดเป็นอาคารไม้อยู่ริมคลองแสนแสบ เมื่ออาคารไม้ชำรุดจึงสร้างอาคารก่ออิฐถัดไปทางทิศเหนือ คืออาคารมัสยิดที่เป็นรูปหลายเหลี่ยมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสร้างประมาณปี พ.ศ. 2490 สร้างหลายปีจึงเสร็จ เมื่ออาคารปูนเสร็จจึงรื้ออาคารไม้ไปสร้างเป็นอาคารเรียน ต่อมาต่อเติมอาคารมัสยิดด้านตะวันออกประมาณปี พ.ศ. 2517 เมื่อสัปปุรุษมากขึ้นจนสถานที่ไม่เพียงพอละหมาด จึงต่อเติมอาคารด้านทิศเหนือในปี พ.ศ. 2547
สำหรับการเรียนการสอนด้านศาสนา อาจารย์อับดุลเราะมาน หมัดเซ็น ผู้เป็นอิหม่ามคนก่อน เป็นผู้มีความรู้ทางด้านศาสนา โดยปลูกปอเนาะอยู่ประจำเรียนทั้งกลางวันกลางคืน ผู้มาศึกษากับอาจารย์อับดุลเราะมาน หมัดเซ็น ปัจจุบันเป็นผู้นำทางด้านศาสนา และผู้บริหารมัสยิดหลายแห่งบรรดาศิษย์จะเรียกว่า “ครูหมาน”
สำหรับการเรียนการสอนด้านศาสนา อาจารย์อับดุลเราะมาน หมัดเซ็น ผู้เป็นอิหม่ามคนก่อน เป็นผู้มีความรู้ทางด้านศาสนา โดยปลูกปอเนาะอยู่ประจำเรียนทั้งกลางวันกลางคืน ผู้มาศึกษากับอาจารย์อับดุลเราะมาน หมัดเซ็น ปัจจุบันเป็นผู้นำทางด้านศาสนา และผู้บริหารมัสยิดหลายแห่งบรรดาศิษย์จะเรียกว่า “ครูหมาน”
2. มัสยิดอิควานุ้ลมุตตะกีน
ตั้งอยู่บริเวณ ม.12 เกาะขุนเณร แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
ประวัติโดยย่อ
มัสยิดอิควานุ้ลมุตตะกีน ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ต่อมามีสัปปุรุษมากขึ้นและตัวอาคารได้ชำรุดตามวันเวลา คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดจึงได้มีการปรึกษาหารือและมีมติที่จะสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ขึ้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว เริ่มก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 สำหรับทุนดำเนินการก่อสร้างได้รับบริจาคของพี่น้องมุสลิมโดยทั่วไป อาคารมัสยิดหลังใหม่ได้ใช้ประกอบศาสนกิจจนถึงปัจจุบัน
3. มัสยิดกมาลุลอิสลาม
ตั้งอยู่ เลขที่ 12 หมู่ 5 ซอยประชาร่วมใจ 48 หมู่ที่ : ถนนประชาร่วมใจ แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
ประวัติโดยย่อ
บรรพบุรุษของมัสยิดกมาลุลอิสลาม อพยพมาจากรัฐไทรบุรีทางตอนใต้ของประเทศไทย เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 บรรพบุรุษได้ช่วยกันถากถางป่าที่รกร้างจนกลายเป็นทุ่ง จับจองที่ดินทำกิน ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่บรรพบุรุษนับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการทำนา การจัดตั้งมัสยิดหลักแรกของตำบลแห่งนี้ คือใช้บ้านทรงไทย เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาในวันศุกร์ และใช้เป็นศูนย์กลางประจำหมู่บ้าน ผู้ที่อุทิศ ชื่อ บาเฮม เป็นผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาคนหนึ่ง และเป็นผู้มีฐานะดีในสมัยนั้น ต่อมามีผู้อุทิศ (วากัฟ) ให้เป็นที่สร้างมัสยิดรวมกัน 4 พี่น้อง คือ ฮัจยีดะมัน ภรรยาชื่อฮัจยะห์มีเนาะ,โต๊ะมัง โต๊ะสะมัง, ฮัจยะห์ฮาลีเมาะห์, เนาะเซียะห์ หลังจากที่ฮัจยีดะมันได้เสียชีวิต ฮัจยะห์มีเนาะห์ ได้นำโฉนดที่ดินมามอบให้กับปะจิ๊สะเมาะ ขำเดช เพื่อทำการสร้างสุเหร่า จำนวน 60 ไร่ และมีผู้บริจาคไม้มาสร้างมัสยิดเป็นเรือนไม้ใช้ประกอบพิธีละหมาดแทนบ้านหลังเดิม มัสยิดหลังไม้มีอายุประมาณ 70 ปี ประชากรขยายเพิ่มมากขึ้นสัปปุรุษได้รวมความคิดและลงมติว่าจะต้องขยายมัสยิดให้กว้างขวางขึ้นจึงช่วยกันซื้อทรายมาขึ้นกองไว้ ก็มีคนนำมากองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นกองใหญ่กองค้างอยู่นาน ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมามองเห็นกองทรายทุกครั้ง จึงเรียกติดปากว่า “ทรายกองดิน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น